Google Webmaster Tools

Google Webmaster Tools
September 23, 2016 No Comments Online Marketing & SEO Training Ken Sitti

Google Webmaster Tools คืออะไร?

Google Webmaster Tools หรือที่ตัวย่อสั้นๆว่า GWT เป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่ Google ได้จัดทำไว้ให้กับเจ้าของหรือผู้ดูแลเว็บไซด์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซด์ของตน เช่น จำนวนผู้เยี่ยมชมในแต่ละวัน คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องที่ผู้ใช้ Google นิยมใช้ในการค้นหา ความผิดปรกติของเว็บไซด์ เป็นต้น ซึ่งผู้ดูแลจัดการเว็บไซด์สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงเว็บไซด์ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น

สำหรับนักโปรโมทเว็บไซด์ (Search Engine Optimization หรือ SEO) เครื่องมือ GWT ถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์เว็บไซด์ของลูกค้าที่ตนดูแล เพื่อนำไปใช้ในการโปรโมทเว็บไซด์ให้แสดงผลบนลำดับต้นๆของ Google Search Engine ได้

Google Webmaster Tools มีเครื่องมืออะไรที่น่าสนใจบ้าง ลองมาดูกันครับ

Site Dashboard

หน้า Dashboard เป็นหน้ารวมของการแสดงผลใน Google Webmaster Tools ณ สถานะปัจจุบัน (Current Status) โดยประกอบด้วย Crawl Errors, Search Analytics, Sitemaps ซึ่งทำให้ผู้ดูแลระบบหรือนักโปรโมทเว็บไซด์ (SEO) สามารถตรวจดูภาพรวม ณ ปัจจุบัน รวมถึงความผิดปกติ ของเว็บไซด์นี้ได้อย่างรวดเร็ว

Google Webmaster Tools Sample
ตัวอย่างการแสดงผลของ Google Webmaster Tools

Google Index

เครื่องมือ Google Index ใน GWT ใช้สำหรับตรวจสอบดูว่า Google ได้นับเว็บไซด์ของเราเข้าไปอยู่ในสารบบของ Google หรือไม่ โดยเว็บไซด์ที่ถูก Index จะปรากฏบนหน้าจอแสดงผลบน Google Search Engine เมื่อทำการค้นหาด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค้นหาด้วยคำว่า “เสื้อจักรยาน” และพบเว็บไซด์เราอยู่หน้าแรกหรือหน้าที่สอง

Index Status in Google Webmaster Tools
เว็บไซด์นี้ยังไม่ได้ถูกทำการ Index โดย Google

ในกรณีที่พบว่า Google ได้ทำการ De-Index เว็บไซด์นี้ หรือลบเว็บไซด์ออกจากสารบบของ Google ผู้ดูแลเว็บไซด์ต้องทำการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเว็บไซด์นี้จะไม่ปรากฏบนหน้าแสดงผลลัพท์ของการค้นหาบน Google (Search Engine) เมื่อทำการค้นหาด้วยคำศัพท์ (Keywords) เช่น ค้นหาด้วยคำว่า “เสื้อจักรยาน” แต่ไม่พบเว็บไซด์เราบน Google เลย

สาเหตุหลักๆที่ Google De-Index เว็บไซด์ของเราเกิดจากการที่นักโปรโมทเว็บไซด์พยายามใช้เล่ห์เหลี่ยมที่ผิดวิธีเพื่อหลอกลวง Google โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้เว็บไซด์ของลูกค้าตนขึ้นอยู่บนอันดับต้นๆอย่างรวดเร็ว ซึ่งเล่ห์เหลี่ยมเหล่านี้อาจเห็นผลลัพท์เร็วในระยะสั้น แต่ไม่คุ้มกับผลเสียในระยะยาว เพราะเมื่อ Google สามารถพบการหลอกลวงเหล่านี้แล้ว เว็บไซด์ของคุณจะหายไปจากการค้นหาของ Google และการแก้ไข (Re-Index) จะยุ่งยากมาก

การแก้ไข Google De-Index สามารถทำได้หรือไม่?

คำตอบ สามารถทำได้ แต่ยุ่งยาก ซึ่งควรให้มืออาชีพด้าน SEO ที่มีประสบการณ์สูงเป็นผู้ทำการแก้ไข โดยค่าใช้จ่ายในการแก้ไขจะค่อนข้างสูง หรือเรียกง่ายๆว่าได้ไม่คุ้มเสีย

HTML Improvement

ผู้ดูและระบบหรือนักรับจ้างทำ SEO สามารถใช้หน้า HTML Improvement เพื่อตรวจสอบดูว่า Google พบประเด็นอะไรในแต่ละหน้าของเว็บไซด์เราหรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซด์ (user experience) และประสิทธิภาพของเว็บไซด์ (site performance)

ภาพด้านล่างแสดงประเด็นที่ Google พบบนเว็บไซด์ของเรา เช่น Duplicate meta descriptions จำนวน 22 หน้า ซึ่งหมายถึงการที่เว็บไซด์ของเรามี meta descriptions ซ้ำกันถึง 22 หน้า และมี Missing title tags จำนวน 1 หน้า และมี title tags ซ้ำกัน 17 หน้า

SEO Issues HTML Improvement
การตรวจสอบประเด็นต่างๆที่ Google พบในเว็บไซด์ของเราที่ HTML Improvements
ในกรณีที่พบประเด็นใน HTML Improvement ควรแก้ไขหรือไม่?

คำตอบ ถ้า Google เห็นว่าประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหา เราก็ควรจะเห็นว่าเป็นปัญหาเช่นกัน ดังนั้น จึง “ควรแก้ไข” เพราะประเด็นเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่ออันดับการแสดงผลของเว็บไซด์เราบน Google

Search Analytics

เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการแสดงผลของเว็บไซด์บน Google ได้จาก Search Analytics โดย Google จะแสดงคุณศัพท์ (queries) ที่ถูกค้นหาและจำนวนครั้งที่ถูกคลิกในแต่ละวัน ยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถกดเข้าไปเพื่อดูรายละเอียดของแต่ละ queries ได้ด้วย ซึ่งส่วนนี้จะมีประโยชน์สำหรับการโปรโมทเว็บไซด์ (SEO) เพราะเราสามารถตรวจสอบได้ว่า Google จะแสดงผลเว็บไซด์ของเราเมื่อผู้ใช้ Google Search Engine พิมพ์คำว่าอะไร

Website Performance in Google Search Analytics
เราสามารถตรวจดูจำนวนการแสดงผลของเว็บไซด์เราใน Google และจำนวนคลิกได้

Sitemap

คือแผนผังของเว็บไซด์ ซึ่งมีประโยชน์ในการบอก Google ว่าเว็บไซด์ของเรามีโครงสร้างหรือแผนผังอย่างไร มีจำนวนกี่หน้า หน้าไหนสำคัญ เป็นต้น ซึ่ง Sitemap จะทำให้ Google เข้าใจเว็บไซด์ของเรามากขึ้น

Google Sitemap Index
การตรวจสอบจำนวนหน้าและรูปภาพที่ Google ได้ทำการ Index

เราสามารถใช้ Plugins ต่างๆ เช่น WordPress plugins หรือ Joomla plugins ในการสร้าง Sitemap ของเว็บไซด์เราหรือจะเขียนเองด้วยโปรแกรม text ก็ได้ โดยรูปแบบของ Sitemap จะต้องเป็น xml ไฟล์ และหลังจากที่สร้างเสร็จแล้วก็นำ Sitemap นี้ไปวางในตำแหน่งที่ Google ได้ระบุไว้

Functions อื่นใน Google Webmaster Tools

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว GWT ยังมีฟังค์ชั่นอื่นๆที่มีประโยชน์อีก เช่น Data Highlighter ซึ่งมีไว้สำหรับบอกรายละเอียดของเว็บไซด์เรากับ Google หรือ Fetch as Google ซึ่งมีไว้สำหรับ submit เว็บไซด์ของเราลง Google Index เป็นต้น โดยเครื่องมือเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักโปรโมทเว็บไซด์ (SEO) หรือแม้กระทั่งผู้ดูแลเว็บไซด์เองก็มาสามารถเรียนรู้ฟังค์ชั่นต่างๆใน GWT เพื่อใช้ประโยชน์ในเบื้องต้นได้

สำหรับท่านที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Webmaster Tools สามารถติดตามบทความอัพเดต (blog) ในเว็บไซด์ Two Bears Marketing หรือติดตามเราจากช่องทาง Social Media ต่างๆ เช่น Two Bears Marketing Facebook Fanpage ได้

สุดท้ายนี้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านไม่มากก็น้อยครับ ขอบคุณที่ติดตามผลงานของเราครับ

Ken Sitti – Entrepreneur, SEO, and Online Marketing

Tags
About The Author
Ken Sitti รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing Strategy) เชี่ยวชาญด้าน Search Engine Optimization (SEO), YouTube SEO, Google Map Marketing (Google My Business) สามารถให้คำแนะนำด้านการตลาดออนไลน์ประเภทอื่นๆ เช่น Google AdWords

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *