เว็บไซต์ที่ดีต้องเป็น HTTPS!!

เว็บไซต์ที่ดีต้องเป็น HTTPS!!
July 14, 2020 No Comments Online Marketing & SEO Training Ken Sitti

ทำไมต้องใช้ HTTPS!!

เว็บไซต์ที่ดีต้องเป็น HTTPS!!

ในปัจจุบันการซื้อของออนไลน์ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว จากผลสำรวจการเติบโตของ E-Commerce ในปี 2557 จนถึงปี 2559 พบว่าคนไทยหันมาซื้อของออนไลน์เยอะขึ้นถึง 24% และจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆในอนาคต

 

โดยพฤติกรรมของลูกค้าส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะเข้าชมเว็บไซต์หลักผ่านสื่อโซเชี่ยลต่างๆ เราจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่านอกจากสื่อโซเชี่ยลต่างๆแล้ว เว็บไซต์นั้นมีความสำคัญมากๆต่อความมั่นใจของลูกค้า ว่าจะเชื่อถือและสั่งซื้อสินค้าจากร้านนี้หรือไม่

ในตอนนี้คิดว่าหลายๆคนคงจะเห็นความสำคัญของเว็บไซต์กันแล้ว ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเป็นอย่างไรกันครับ

ผลสำรวจมูลค่า ecommerce ปี 2017

ข้อมูลการเติบโตของ E-Commerce ปี 2557-2559 สำรวจโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.)

 

ข้อแตกต่างระหว่าง HTTPS กับ HTTP

ในบางครั้งถ้าเราสังเกตุตรงช่องที่ใส่ URL ของแต่ละเว็บไซต์นั้น บางเว็บก็จะมีรูปแม่กุญแจสีเขียวขึ้นและเขียนว่าปลอดภัย แต่บางอันก็ไม่ปลอดภัย โดยสาเหตุที่เว็บไซต์เหล่านั้นขึ้นว่าไม่ปลอดภัยก็การทำงานของเว็บไซต์นั้นไม่ใช่ HTTPS แต่เป็น HTTP นั่นเอง ซึ่งเราสามารถสังเกตุได้จากสัญลักษณ์แม่กุญแจสีเขียว และคำนำหน้า URL ต้องเป็น HTTPS ครับ

สัญลักษณ์ เว็บไซต์ https ssl

โดย https ก็เปรียบเสมือน http เวอร์ชั่นที่ปลอดภัยกว่า เพราะการทำงานของ https นั้นจะต่างจาก http ตรงที่ว่าเวลาที่เรากรอกข้อมูลไปในเว็บไซต์ หลังจากที่เรากด Enter เพื่อส่งข้อมูลแล้ว https จะทำการเข้ารหัสข้อมูลดังกล่าวให้เป็นข้อความที่อ่านไม่ได้ และทำการถอดรหัสได้ยาก อีกทั้งยังทำการระบุตัวผู้รับผู้ส่งอย่างชัดเจน ทำให้การส่งข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น ในปัจจุบัน Google ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ใช้ https อย่างมาก เพราะฉะนั้นเว็บไซต์ไหนที่ไม่ได้ใช้ https แล้วล่ะก็ Google Chrome จะขึ้นว่าไม่ปลอดภัย และทำให้เวลาค้นหาเว็บไซต์เราผ่าน Google จะทำได้ยากขึ้น เพราะว่า Google จะจัดอันดับให้เว็บที่เป็น https มีคะแนนที่มากกว่า

 

https นิยมใช้กับเว็บไซต์กลุ่มไหน

ในช่วงแรกมักนิยมใช้กับเว็บไซต์ที่มีการส่งข้อมูลที่สำคัญและเป็นความลับ เช่น ธุรกรรมการเงิน ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า แต่ในปัจจุบัน เว็บไซต์ของทุกกลุ่มธุรกิจควรที่จะมีการทำ SSL เพื่อความปลอดภัย

 

ประโยชน์ของ HTTPS หรือ SSL

  1. การมี SSL (secure socket layer) Certificate เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ ลดความเสี่ยงจากการถูกดักจับข้อมูล และลดโอกาสเกิดความเสียหายจากการถูกโจรกรรมข้อมูล
  2. เว็บไซต์ที่มีสัญลักษณ์รูปกุญแจ ssl เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าที่เข้าชมเว็บไซต์ ทำให้ลูกค้ากล้าที่จะกดเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และสั่งซื้อสินค้า
  3. การทำ SSL เป็นการช่วยทำ SEO โดยเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มอันดับของเว็บเราในการค้นหาของ Google ให้ขึ้นไปอยู่อันดับบนๆของการค้นหา
  4. ในบาง browser จะมีการขึ้นเตือนเมื่อผู้ใช้งาน browser เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 

 

SSL Certificate คืออะไร

SSL Certificate คือปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนเว็บไซต์จาก http เป็น https ซึ่ง SSL Certificate ก็คือใบรับรองว่าเว็บไซต์ของเรามีการใส่รหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งออก โดยที่ SSL Certificate นั้นจะออกโดยหน่วยงาน CA (Certificate Authority) ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น

สัญลักษณ์ ssl เมื่อเข้าเว็บ 2bearsmarketing.com

ตัวอย่างด้านบนจะเป็นเว็บไซต์ Digital Marketing Agency Thailand https://2bearsmarketing.com จะสังเกตเห็นว่ามีสัญลักษณ์รูปกุญแจอยู่ด้านหน้าชื่อ domain ซึ่งบอกว่าเว็บไซต์นี้มี ssl ที่เพิ่มความปลอดภัย (security) ต่อการเข้าเยี่ยมชม

การทำ https สำคัญต่อ SEO อย่างไร

บริษัท กูเกิล (Google Inc.) ได้กล่าวไว้ว่าการทำ SSL หรือ https จะทำให้การทำ SEO ง่ายขึ้นและได้ผลดี การทำ SSL จะส่งผลต่อ UX (User Experience) เพราะถ้าหากเข้าเว็บไซต์แล้วเห็นว่า Browser ไม่ปลอดภัยหรือเป็นกุญแจสีแดงทีมีกากบาท เราจะไม่กล้ากรอกข้อมูลที่สำคัญเพราะขาดความน่าเชื่อถือ แต่ถ้าหากเว็บไซต์ของเรามี https จะทำให้ผู้ที่เข้ามายังเว็บไซต์ของเรารู้สึกปลอดภัยและกล้าที่จะกรอกข้อมูลมากขึ้น และยังช่วยเพิ่ม OnPage ลดการกดเข้ามายังเว็บไซต์ของเราแล้วกดกลับออกจากเว็บทันทีอีกด้วย

Speaker: Ken Sitti – Entrepreneur, Digital Marketer, and SEO

Tags
About The Author
Ken Sitti รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing Strategy) เชี่ยวชาญด้าน Search Engine Optimization (SEO), YouTube SEO, Google Map Marketing (Google My Business) สามารถให้คำแนะนำด้านการตลาดออนไลน์ประเภทอื่นๆ เช่น Google AdWords

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *